การเบิร์นหูฟัง
คืออะไร ทำอย่างไร?
การเบิร์นหูฟัง คืออะไร
การเบิร์นหูฟัง
(burn headphone) เป็นศัพท์ที่นักเล่นหูฟังพูดถึงกันบ่อยๆ
โดยเฉพาะเวลาที่ซื้อหูฟังตัวใหม่มา มือใหม่บางท่านอาจฟังแล้วไม่เข้าใจ
วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องการเบิร์นหูฟังให้ทุกท่านทราบครับ
หูฟัง
ก็เปรียบเสมือนกับลำโพงตัวเล็กๆที่เอาไว้ข้างหู เมื่อซื้อมาใช้ใหม่ๆแบบแกะกล่องเสียงอาจยังไม่เข้าที่ตามที่มันควรจะเป็น
ทำให้เหล่านักเล่นต้องเบิร์นกันก่อนฟังอย่างจริงจังครับ
ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพชัดขึ้นก็คงเปรียบได้กับรถยนต์ใหม่
ที่ต้องมีช่วงเวลาการรันอินช่วงหนึ่งนั่นเอง
อาจมีคำถามว่า
เบิร์นแล้วเสียงจะเข้าที่ได้อย่างไร
คงต้องอธิบายถึงส่วนประกอบของหูฟังกันสักหน่อยครับ
หูฟังจะมีส่วนประกอบอยู่ชิ้นหนึ่งคือไดอะแฟรม
ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นดอกลำโพงเล็กๆ ที่จะสั่นไหวตลอดเวลาเมื่อเปิดเพลง
แต่หลังจากที่เพิ่งซื้อหูฟังใหม่มา หูฟังที่ประกอบมาจากโรงงานและยังไม่ได้ผ่านการใช้งานอาจมีไดอะแฟรมที่ยังไม่ค่อยยึดหยุ่นนัก
และถ้าได้รับการเบิร์นหรือใช้ไปเรื่อยๆความยืดหยุ่นดังกล่าวก็จะค่อยๆเข้าที่ตามที่ผู้ผลิตต้องการ
ทำให้เสียงมีความเปลี่ยนแปลง อาจจะเปลี่ยนมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละรุ่น
และโดยทั่วไปมักจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
การเบิร์นหูฟัง
ทำอย่างไร
การเบิร์นหูฟังนั้น
ปกติแล้วสามารถทำได้ง่ายๆโดยเปิดเพลงทั่วๆไป ฟังไปเรื่อยๆ
โดยใช้ระดับความดังปกติเท่าที่เราฟังเพลง
ให้ดีควรเปิดเสียงเบาลงอีกเล็กน้อยจากปกติ พักบ้างก็ได้ถ้าอยากพัก
โดยนับชั่วโมงให้ได้สัก 50 ชั่วโมงขึ้นไปก็น่าจะเห็นผลแล้ว
หูฟังบางตัวอาจเห็นผลเร็วหรือช้ากว่านี้ได้
แต่ถ้าคุณเป็นนักเล่นหูฟังที่มีประสบการณ์ยาวนาน
แน่นอนว่าคุณต้องการรีดคุณภาพเสียงออกมาให้ได้สูงสุด
นักเล่นกลุ่มนี้มักจะพิถิพิถันในการเลือกไฟล์เพลงสำหรับเบิร์นหูฟังเป็นพิเศษ
โดยจะเลือกไฟล์เพลงความละเอียดสูงระดับ lossless เช่นไฟล์เพลงนามสกุล flac หรือ wave โดยเชื่อว่าการที่ไฟล์ไม่ถูกบีบอัด
จะสามารถให้ย่านความถี่เสียงสำหรับกระตุ้นไดอะแฟรมได้กว้างกว่า
และเห็นผลชัดกว่าในส่วนของรายละเอียดของดนตรีที่มีความถี่สูงๆ
ตัวอย่างไดอะแกรมของหูฟัง
แล้วพวกไฟล์เบิร์นที่เป็นเสียงสังเคราะห์
ไม่ใช่เสียงเพลงใช้ได้ไหม
ไม่แนะนำให้ใช้ไฟล์ประเภทเสียงสังเคราะห์ที่เป็นคลื่นความถี่เสียงในการเบิร์นหูฟัง
เนื่องจากไฟล์พวกนั้นออกแบบมาสำหรับลำโพง
ไฟล์พวกนี้จะเค้นหูฟังให้ทำงานหนักมากจนเกินไป
และอาจทำให้หูฟังเสียงเปลี่ยนไปในทางลบได้
วิธีการเบิร์นหูฟังแบบสรุป
-ใช้ไฟล์เพลงเปิดฟังไปเรื่อยๆ ควรเป็นไฟล์ที่มีความละเอียดสูงสักนิด
อย่างน้อยในระดับ mp3 320kpbs หรือจะใช้ไฟล์ lossless
ยิ่งดี
-เปิดในระดับเสียงที่ฟังปกติหรือเบากว่าเล็กน้อย
-ใช้เวลาการเบิร์นประมาณ 50 ช.ม.
หยุดให้หูฟังพักบ้างทุกๆ 10 ช.ม.ก็ดี บางรุ่นอาจต้องใช้เวลาเบิร์นมากกว่านี้
-ห้ามใช้ไฟล์ความถี่เสียงสังเคราะห์ในการเบิร์นหูฟัง
เพราะจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี
โดยหลักแล้วการเบิร์นก็มีประมาณนี้ครับ
หลังจากเบิร์นแล้วจะสัมผัสได้ถึงความแตกต่างของหูฟังมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
ระดับความเทพของหูฟัง และความเทพของหูคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น