วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติของหูฟัง

ประวัติของหูฟัง

หูฟัง มีต้นกำเนิดมาจากนาย นาทาเนียล บอลด์วิน 
(Nathaniel Baldwin)

           นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นผู้ประดิษฐ์ชุดหูฟังวิทยุคนแรก แรกเริ่มการคิดค้นยังไม่ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจเท่าไหร่ จนกระทั่งช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้สั่งซื้อชุดหูฟัง 100 ชุด ทำให้วงการชุดหูฟังเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากนั้นนักบินสองคนซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทแพนทรอนิกส์(Plantronics) ได้เริ่มผลิตชุดหูฟังที่มีน้ำหนักเบาเหมาะสำหรับการสวมใส่ โดทดลองใช้ในเครื่องบินเป็นครั้งแรก เพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากที่ได้รับจากการใช้หูฟังขนาดใหญ่ ทำให้หูฟังเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
หูฟังอันแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1910

ประวัติและประเภทของหูฟังแต่ละชนิด

หูฟังอันแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1910

1. กำเนิด Full size
เท้าความในสมัยที่มีการเริ่มประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ เอดิสันได้ประดิษฐ์สิ่งของมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือเครื่องบันทึกเสียงและเครื่องเล่นอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนาไปอย่างมากมาย กลายเป็นเครื่องเล่นตามบ้าน มีการสร้างลำโพงตั้งโต๊ะ ยุคสมัยจริงๆ ของหูฟังน่าจะเป็นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ เมื่อเริ่มมีการฟังเพลงตามบ้านกันมากขึ้น แต่มีปัญหาว่าต้องเปิดดังทำให้รบกวนคนอื่นจึงได้มีคนคิดเอาดอกลำโพงของลำโพงตั้งโต๊ะมาทำให้เล็กลง พอดีกับหู (แต่ในสมัย
นั้นก็ยังถือว่าใหญ่มาก หนักเป็นกิโลเลยทีเดียว) ใส่กรวยครอบและใส่ที่คาดเพื่อไม่ต้องใช้มือจับและไม่ให้หลุดง่ายจึงเป็นที่มาของ
 "หูฟัง Full size" (ในตอนแรกยังไม่มีฟองน้ำ เรียกว่า Full size แบบเปิด มีแต่ไดรเวอร์แปะกับหูโดยตรงเท่านั้น ตอนหลังจึงมีฟองน้ำให้ใส่สบายไม่ล้าและช่วยกันเสียงภายนอก เราเรียกกันว่า Full size แบบปิด)



หูฟังขนาด Full size
-----------------------------------------------------------------------------------------

2. กำเนิด Ear bud

        หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ญี่ปุ่นต้องพัฒนาตัวเองอย่างหนักเพื่อเอาชีวิตรอดได้มีการปฏิวัติการพัฒนาเลยทีเดียว หนึ่งในนั้นก็คื่อเครื่องเล่นเทปแบบพกพาโดยเจ้าของโซนี่เป็นผู้คิดค้น พอคิดค้นได้ก็ต้องมีหูฟังมาใช้ร่วมกัน ตอนแรกก็นำเอา Full size มาใช้ แต่ด้วยน้ำหนักที่มาก ดูเทอะทะ จึงได้ทำการลดขนาดให้เล็กลง แต่ยังใช้ที่คาดแบบที่คาดผมอยู่ (เป็นต้นกำเนิดของหูฟังกึ่ง Full size ในปัจจุบัน)แต่ขนาดนั้นก็ยังใหญ่เกินไปถ้าจะพกพาจึงได้มีการลดขนาดให้ไดร์เวอร์เล็กและทำให้ใส่ในรูหูได้พอดี(กว่าจออแบบมาได้โซนี่ได้ลองผิดลองถูกตั้งนาน)เป็นที่มาของหูฟัง "Ear bud"
หูฟัง Ear bud
-----------------------------------------------------------------------------------------


3. กำเนิด In ear

       ยุคสมัยเพลงเบ่งบานในอเมริกา (ประมาณปี 1950-1980) ได้มีการทำเพลงออกมามากมายมีเพลงออกมาหลากหลายสไตล์อเมริกาก้าวล้ำเรื่องเพลงไปมากกว่ายุโรปและประเทศอื่นๆหลายเท่าตัวการบันทึกเสียงก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวถ้าคนที่เคยอยู่ในห้องซ้อมหรือห้องอัดจะรู้ดีว่าเวลาเล่นเสียงมันค่อนข้างดังถึงดังมาก ทำให้เล่นผิดจังหวะมือกลองที่ต้องคุมจังหวะส่วนใหญ่จึงต้องใส่ Full size แบบปิดเพื่อกันเสียงและก็ได้ฟังจังหวะที่ถูกต้องแต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ที่ความใหญ่ใส่ไม่สะดวกนักร้องหรือ นักกีตาร์ จะใส่ไม่ถนัด จึงมีการคิดค้นหูฟังขนาดเล็กที่สามารถกันเสียงได้และได้ยินเสียงที่ชัดเจนจึงเป็นต้นกำเนิดของหูฟัง"In ear"เมื่อนักฟังเพลงได้เห็นนักดนตรีใช้จึงเอาแบบอย่างบ้าง In ear จึงได้เริ่มมีการผลิตมาเพื่อฟังเพลงมากขึ้น



หูฟัง In ear

แต่ด้วยการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อนเพราะมีพื้นที่ขนาดเล็กไดร์เวอร์ก็ต้องเล็กตาม และการที่จะทำให้เสียงดีได้นั้นไม่ง่าย ราคาจึงค่อนข้างแพงกว่าหูฟัง2กลุ่มที่ผ่านมาแล้วอย่างมากอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาหนักอกแก่ผู้พัฒนา In ear อย่างมากก็คือเสียงที่ได้ค่อนข้างแคบเพราะตอนแรกตั้งใจจะทำเพื่อใช้ในสตูดิโอเท่านั้น(ต้องการแค่กันเสียงกับให้เสียงที่ชัดเจน)ไม่ได้ทำมาเพื่อใช้ในการฟังเพลงจึงต้องการแก้ปัญหากันตรงนี้

ด้วยกายภาพของ In ear
มีพื้นที่น้อยมากการจะทำให้เสียงกว้างจึงเป็นงานหินทีเดียวพยายามหาจุกโฟมหลายๆแบบเพื่อให้เสียงโปร่งขึ้นไม่อึดอัดมีการแถมจุกโฟหลายๆแบบเพื่อให้เลือกใช้ตามความต้องการในที่สุดก็ได้มาจบตรงการใส่ไดร์เวอร์เพิ่มเพื่อให้เสียงและช่วงเสียงกว้างขึ้นแต่ก็ทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมาเพราะพื้นที่มีค่อนข้างน้อยและระยะทางถึงแก้วหูค่อนข้างสั้นทำให้เสียงของแต่ละไดร์เวอร์ตีกันเอง(ภาษานักเล่นเรียกว่า Cross over) จึงต้องมีการทำภาคแก้ไข Cross over ออกมาด้วยสำหรับหูฟัง In ear ที่มีตั้งแต่ ไดร์เวอร์เป็นต้นไป นั่นเป็น
เหตุผลทำให้หูฟัง In ear ที่มีหลายๆ ไดร์เวอร์ ก็แพงกว่าแบบธรรมดาหลายเท่าตัวเช่นเดียวกันมีการนำ In ear ไปใช้ในงานคอนเสิร์ตต่างๆ ด้วย (เสียงในคอนเสิร์ตค่อนข้างดัง และฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง) นักร้อง นักดนตรีจึงต้องใช้ In ear ช่วย แต่ก็เกิดปัญหาในเรื่องของการใส่แล้วหลุดบ่อยบ้าง ยังไม่สามารถเก็บเสียงได้ดีที่สุดบ้าง นักร้อง นักดนตรีจึงได้สั่งทำ In ear ที่มีขนาดพอดีกับหูตัวเองออกมา เป็นการเฉพาะ เราเรียกกันว่า "In ear custom"



หูฟังแบบ In ear custom
เป็นหูฟังที่หล่อขึ้นมาเฉพาะผู้ใส่เพียงคนเดียว เพื่อที่ขนาดจะได้พอดีหูที่สุด เพราะฉะนั้นราคาจึงแพงมาก และเหมาะสำหรับการใช้คนเดียว

ประเทศที่เริ่มผลิตหูฟัง In ear ก็คืออเมริกา ฉะนั้น In ear ดีๆ จึงมาจากอเมริกาเกือบทั้งหมด (เพราะเขาทำมาก่อน เป็นต้นแบบ)

 ยี้ห้อที่แนะนำเช่น Shure , UE , UM เป็นต้น

-----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเติม


     แม้ว่าหูฟังปัจจุบันเกือบทั้งหมดจะทำในที่จีนแล้วก็ตาม แต่บริษัทที่เข้าไปลงทุนก็เป็นบริษัทฝรั่ง กับญี่ปุ่น คนจีนก็เริ่มก๊อปและพัฒนาหูฟังในแบบของตัวเอง โดยนำตัวดีๆ ของแต่ละบริษัทมาเป็นต้นแบบ จึงเริ่มมีหูฟังจีนดีๆ ที่ถูกกล่าวถึงกันมากขึ้น เช่น Yuin แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาสักระยะกว่าจะตามทัน ในความเห็นส่วนตัวของผม คาดว่าในอนาคตจีนจะตามทันและแซงได้ในที่สุด จีนจะมีหูฟังดีๆ ราคาไม่แพงออกมาให้เราใช้อีกโขทีเดียวจากที่เขียนมาตั้งยืดยาวจะเห็นได้ว่า การจะบอกว่า Full size , Ear bud , In ear อะไรดีกว่ากันคงจะเป็นเรื่องยาก เพราะแต่ละตัวมีจุดกำเนิดไม่เหมือนกัน อยู่ที่เรามากกว่าว่าจะใช้ทำอะไร (เหมือนกับรถ มีทั้งรถเก๋ง รถกระบะ รถมอไซค์ มันก็อยู่กับสถานการณ์ว่าจะต้องใช้อะไรไปซื้อของใกล้ๆ ใช้มอไซค์ ใช้รถยนต์เปลืองน้ำมัน หาที่จอดยาก ไปเที่ยวมีของด้วยใช้กระบะเข้าเมือง ติดต่อธุระใช้รถเก๋ง) ถ้าเดินทางผมใช้ In ear ถ้าอยู่บ้านทำงานเดินไปเดินมาใช้ Ear bud ถ้าต้องการเสียงคุณภาพกันสุดๆ ผมไม่มี Full size ผมก็ฟังเครื่องเสียงเอาครับ



---------------------------------------------------------------------------------------

ทางเรามีคลิปวิดิโอเพิ่มเติมและเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นครับ

ประวัติหูฟังจากอดีต สู่ปัจจุบัน





ประเภทของหูฟังทั้งหมด






-----------------------------------------------------------------------------------------
ผิดถูกประการใด ทาง HeadPhone 89 ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วยครับ

การเลือกหูฟัง ให้เหมาะกับตัวเอง

การเลือกหูฟัง (ให้เหมาะกับตัวเอง)

          หูฟังหรือ Headphones ถือเป็นอุปกรณ์คู่ชีพที่คนทำงานด้านเสียงทุกคนต้องมี รวมทั้งยังเป็นของที่อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก หูฟังมีให้เลือกซื้ออย่างหลากหลายในท้องตลาด แต่การที่ใครสักคนจะเลือกหูฟังสักอันมาเป็นของคู่กาย จะมีวิธีเลือกอย่างไรบ้าง ดูที่อะไรบ้าง วันนี้เราจะคุยกันเรื่องนี้ นั่นคือ การเลือกหูฟัง (ให้เหมาะกับตัวเอง)



*หมายเหตุ หูฟังในที่นี้หมายถึงหูฟังทั้งแบบครอบหัวและแบบใส่ในหู*



            หลักการที่สั้นและเรียบง่ายที่สุดในการซื้อหูฟังคือ "เลือกอันที่คุณฟังแล้วเพราะที่สุดและแพงที่สุดเท่าที่คุณจะซื้อไหว" ...(ถ้าไม่คิดมาก ใช้หลักการนี้ได้เลย) แต่ถ้าประณีตในการเลือกขึ้นหน่อย ลองมองถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ประกอบด้วย จะทำให้คุณได้หูฟังที่เหมาะกับคุณมากที่สุด

เรื่องที่เน้นคือคำว่า  "เหมาะกับตัวเอง" ดังนั้นเมื่อคุณจะเลือกหูฟังสักอัน ถามตัวเองก่อนเลยว่าคุณเลือกหูฟังเพื่ออะไร เลือกสำหรับงานอาชีพทางเสียง เลือกเพื่อใช้ในการเดินทาง ในชีวิตประจำวัน เมื่อตอบตัวเองแล้ว เมื่อคุณไปเลือกหูฟัง ขอให้อย่าลืมนึกถึงสิ่งเหล่านี้ ...


1. เอาเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาที่คุณฟังเป็นประจำไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ที่คุณใส่เพลงไว้ฟัง ไอโฟน ไอแพด ไอพอด ซาวด์อะเบ้าท์ ... อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นอุปกรณ์ที่คุณฟังเป็นประจำ เอาไปลองกับหูฟังที่คุณจะซื้อ จะได้รู้ว่าหูฟังดีๆ ฟังกับอุปกรณ์เดิมๆ ของคุณ จะได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นไหม เพราะถ้าคุณฟังจากแหล่งกำเนิดเสียงหรือเครื่องเล่นอื่นๆ ที่ผู้ขายเตรียมไว้ เครื่องเล่นนั้นอาจปรับ EQ ไว้หรือมีคุณภาพในการแปลงสัญญาณเสียงดีหรือแย่กว่าสิ่งที่คุณใช้ประจำ ดังนั้นเพื่อความชัดเจนว่าคุณได้หูฟังคุณภาพดีขึ้น ควรพกเครื่องเล่นเพลงของคุณเองไปลอง


2. เพลงก็สำคัญ เตรียมเพลงที่คุณคุ้นเคย ที่คุณรู้รายละเอียดในเพลงนั้นอย่างดี เพลงที่คุณฟัง เพลงที่คุณรัก ไปลองฟังกับหูฟังอันใหม่ ถ้าคุณฟังเพลงที่คุณคุ้นเคยแล้วคุณรู้สึกเพราะขึ้น รายละเอียดดนตรีชัดเจนขึ้น คุณมีความสุขที่จะได้ยินเพลงนี้ผ่านหูฟังนั้น แปลว่าคุณมาถูกทางแล้ว ถ้าคุณทำงานมิกเสียง ก็เอาเพลงที่คุณมิกเองไปลองฟังดู
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณชอบฟังเพลงที่เบสหนักๆ เบสเดินเป็นเม็ดๆ คุณอาจจะเลือกฟังวง Groove Rider เพลง Superstar เป็นต้น เพื่อรายละเอียดในย่านเสียงตามแนวเพลงนั้นๆที่คุณสนใจ

3. สำหรับมืออาชีพที่ทำงานด้านมิกเสียง มีรายชื่อหูฟังที่น่าเชื่อถือสำหรับงานระดับนี้ที่คุณหาได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นก็คือ การใช้หูฟังที่ให้ลักษณะเสียงใกล้เคียงกับลำโพงที่คุณใช้ การเลือกหูฟังที่เสียงดีแต่เสียงไปคนละทิศทางกับลำโพงที่คุณใช้มิกงาน อาจทำให้คุณตัดสินใจเกี่ยวกับความพอดีและลงตัวของงานนั้นๆ ได้ยากขึ้น ถ้าเลือกหูฟังเพื่อใช้สำหรับงานมิก เลือกให้เสียงไปแนวเดียวกับลำโพงของคุณจะดีมาก ดังนั้นอย่าลืมทำตามข้อ 2. คือพกเพลงที่คุณคุ้นเคยไปลองฟังด้วย จะได้รู้ว่าเสียงของหูฟังใกล้เคียงกับลำโพงของคุณไหม

4. นอกจากเรื่องเสียงแล้ว ขอให้นึกถึงความสบายในการใส่หูฟังด้วย ลองใส่ดู ลองฟังไปห้านาที สิบนาที ไม่ต้องรีบไม่ต้องกดดัน ถ้าคุณรู้สึกว่าเสียงดีแล้วก็ทดลองฟังให้นานขึ้นอีกนิด แล้วตรวจดูความรู้สึกว่าหูฟังนั้นใส่สบายไหม ปรับขนาดให้เข้ากับขนาดหัวของคุณได้ไหม บีบหัวไหม บีบหูไหม แบบที่ใส่ไปในหู ในรูหู พอดีกับคุณไหม เรื่องความสบายนี้สำคัญมาก ใส่หูฟังนานๆ แล้วเจอหูฟังที่ใส่ไม่สบาย ความรู้สึกจะเหมือนการเจอรองเท้ากัด

5. สนใจเรื่องการรั่วของเสียงด้วย ทั้งเสียงที่รั่วจากหูฟังของคุณไปข้างนอก และการรั่วของเสียงจากภายนอกมาเข้าหูคุณ

ถ้าคุณเลือกหูฟังเพื่อการบันทึกเสียง เลือกหูฟังที่เสียงรั่วออกมาจากหูฟังน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการลองเปิดเสียงให้ดังมากๆ(โดยที่ไม่อันตรายต่อทั้งหูคุณและหูฟัง) แล้วฟังดูว่าเสียงจากหูฟังรั่วออกมาข้างนอกไหม ถ้าคุณนำไปใช้งานอัดเสียง เสียงจากหูฟังจะรั่วมาเข้าไมโครโฟนรึเปล่า  คิดเผื่อด้วยว่านักร้อง นักดนตรีที่มาอัดเสียงกับคุณแต่ละคนชอบฟังเสียงดังเบาไม่เท่ากัน ดังนั้นเปิดดังๆ เสียงจะรั่วหรือไม่ ตรงนี้ต้องลองให้ดีๆ
ถ้าคุณชอบฟังเพลงในที่สาธารณะ ก็ไม่ควรเลือกหูฟังที่เสียงรั่วจนไปรบกวนผู้อื่น


           ถ้าคุณเลือกหูฟังเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะเดินทาง ขณะอยู่บนรถไฟฟ้า ก็ควรเลือกหูฟังแบบที่ไม่ปิดหูคุณจนสนิท ไม่ปิดกั้นคุณจากเสียงภายนอกแบบตัดขาดจากโลก  เรื่องนี้เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต ถ้าคุณอยู่ในโลกภายนอก แม้ขณะฟังเพลง ก็ควรได้ยินเสียงแวดล้อมด้วย เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน เรื่องเฉพาะหน้า รถพุ่งใส่ ไฟไหม้ จะได้รู้ตัว จะได้หลบทัน ...




         วิธีการทั้ง 5 น่าจะทำให้คุณเลือกหูฟังได้ตรงกับตัวเองมากขึ้น เมื่อซื้อหูฟัง ไม่ต้องรีบ ตั้งใจลองซักพัก ให้มั่นใจว่าคุณมีความสุขกับสิ่งที่ได้ยิน และเมื่อได้หูฟังที่ถูกใจแล้วก็ระวังอย่าฟังเพลงด้วยหูฟังเสียงดังเกินไปหรือนานเกินไป ถนอมหูไว้ให้ฟังเพลงได้นานๆ ด้วยนะครับ

รีวิว : หูฟัง audio-technica ATH-MSR 7 LTD

รีวิว : หูฟัง audio-technica ATH-MSR 7 LTD

          ชื่อเสียงของ audio-technica มีมายาวนาน แต่เราเพิ่งมีโอกาสได้ทดสอบหูฟังยี่ห้อนี้ เสียงลือเสียงเล่าอ้างสำหรับ audio-technica จัดว่าดีไม่น้อย มาดูกันว่า audio-technica ATH-MSR 7 LTD จะทำให้เราน่าประทับใจมากน้อยแค่ไหน

         หูฟัง audio-technica ATH-MSR 7 LTD ต่อจากนี้ของเรียกสั้น ๆ ว่า MSR 7 เป็นหูฟังแบบครอบหัวขนาดใหญ่ โดยรุ่นที่เราได้รับมาเป็น ที่มีห้อยท้ายว่า LTD หรือ Limited Color ซึ่งเป็นสีแดงเมทัลลิคแซมด้วยขอบสีทอง ซึ่งว่าไปสีออกแนวเกราะของไอรอนแมนยังไงยังงั้น ส่วนถ้าไม่ใช่รุ่น Limited Color เป็นสีธรรมดาจะมีสีดำและสีน้ำตาลให้เลือก ของที่มาพร้อมหูฟังในกล่องมีสายหูฟังให้ 3 เส้นคือแบบมีรีโมทมาที่สายหูฟังความยาว 1.2 เมตร, สายแบบไม่มีรีโมทยาว 1.2 เมตร และสายแบบไม่มีรีโมทยาว 3 เมตร นอกนั้นก็มีถุงสีดำสำหรับใส่หูฟังมาให้



        
        ตัวหูฟัง MSR 7 โครงด้านนอกเป็นพลาสติกและตัวก้านที่อยู่ภายในเป็นโลหะ บริเวณหูฟังบุนวมมาหนาพอควร บริเวณด้านบนหูฟังทำเป็นหนังสีดำหุ้มไว้นอกจากเรื่องความสวยงามแล้วยังเป็นการป้องกันไม่ให้เราเจ็บหัวเวลาใช้หูฟังไปนาน ๆ สำหรับรุ่นที่เราได้รับมาเป็นสีพิเศษ สีแดงจะเงา ๆ เวลาสะท้อนกับแสงแล้วเราพลิกตัวหูฟังไปมาจะเห็นว่าสีจะมีเหลือบ ๆ อยู่ด้วย จุดนี้แล้วแต่ว่าชอบกันหรือไม่ ขนาดไดรเวอร์หูฟังรุ่นนี้ตามสเป็คระบุว่ามีขนาด 45 มม. ถือว่าไม่เล็กไม่ใหญ่ขนาดพอดีตัว


           การใส่หูฟังตัวนี้ จากที่ได้ใช้ไม่ได้เหมาะกับทุกสถานการณ์ประเภทหยิบติดตัวออกไปจากบ้านด้วยทุกวัน ด้วยขนาดหูฟังที่ใหญ่มากทำให้การพกพาไม่สะดวกเท่าขนาดเล็กกว่านี้และยังเป็นหูฟังที่ไม่สามารถพับได้จึงทำให้การพกพาต้องมีพื้นที่เหลือในกระเป๋าพอควร การใช้หูฟังตัวนี้เหมาะกับการอยู่นิ่ง ๆ ในห้องในบ้านหาเวลาจมจ่มอยู่กับเสียงเพลงที่ชอบสักระยะหนึ่งจะดีมาก โดยตอนใส่หูฟังจะครอบไปทั้งหูของเราและบล็อกเสียงภายนอกเล็กน้อย ถามว่าฟังไปนาน ๆ แล้วอึดอัดหรือไม่ก็ต้องบอกว่ามีบ้างนิดหน่อย อีกสิ่งที่ควรบอกเล่ากันคือหูฟังประเภทครอบหัวขนาดใหญ่แบบนี้นวมที่หูฟังหนาแบบนี้ไม่ควรจะใส่ตอนอากาศร้อน ๆ เพราะไม่สามารถระบายอากาศได้ อย่างน้อย ๆ ก็ควรอยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดีและไม่ร้อนจนทำให้เราเหงื่อออกเปียกโชกไปทั้งหู
ด้านเสียงของ MSR 7 เป็นอะไรที่ผมไม่คิดมาก่อนว่าจะทำได้เยี่ยมมากโดยเฉพาะเรื่องรายละเอียดของเสียงเก็บได้หมดจริง ๆ คือทุกเม็ดที่ออกมาพริ้วมาก ๆ ภาพรวมของเสียงจาก MSR 7 ให้เสียงเบสที่ออกนุ่ม ๆ ไม่บุ่มบ่าม  เสียงย่านอื่นเก็บได้ครบแบบไม่น่าเชื่อ ตอบโจทย์มากกับเพลงที่เราอยากได้รายละเอียดทุกชิ้นดนตรี ทุกการพ่นลมตอนร้องเพลงของนักร้อง หูฟังตัวนี้ทำได้จริง ๆ สำหรับซาวด์สเตจของหูฟังตัวนี้จัดว่ากว้างดีทีเดียว ในจุดนี้ยิ่งถ้าคุณชอบฟังพวกเพลงออเครสต้า เพลลงคลาสสิค ที่ขนาดวงดนตรีมีขนาดใหญ่ เราจะได้ยินเสียงที่ครบมากคือฟัง ๆ อยู่ก็รู้ว่าเสียงเครื่องดนตรีชิ้นนี้มาจากทางซ้ายใกล้หรือไกล เป็นต้น

           จากที่ได้ใช้ MSR 7 ผมชอบที่ให้เสียงได้ครบและพร้ิวมากกับเพลงเกือบทุกแนว จะมีบ้างที่หูฟังตัวนี้ไม่ตอบโจทย์ในความคิดผมสักเท่าไหร่คือพวกเพลงที่ลงเสียงต่ำหรือเน้นบีทหนัก ๆ ด้วยความที่เป็นหูฟังที่เสียงเบสไม่บุ่มบ่ามจะเรียกว่าเสียงเบสสุภาพสุขุมนุ่ม ๆ ก็ได้ พอเจอกับเพลงประมาณนี้ฟังแล้วไม่ค่อยจี๊ดจ๊าดไม่คึกคักเท่าไหร่

สำหรับสายหูฟังที่มีมาให้ผมใช้สายที่มีรีโมทบนสายจะมีปุ่มกดสำหรับเล่นเพลงหยุดเพลงมาให้ แต่ไม่มีปุ่มปรับระดับเสียงมาให้
จากที่ได้ใช้ audio-technica ATH-MSR 7 LTD ใช้ฟังเดี่ยว ๆ ก็ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าจะให้ครบเครื่องจริงๆ ผมว่าต้องคอมโบ้กับแอมป์ดี ๆ อีกสักตัวน่าจะทำให้เสียงขึ้นไปได้อีกระดับ โดยรวมสำหรับ audio-technica ATH-MSR 7 LTD เป็นหูฟังที่ดีมากรุ่นหนึ่ง ขอบอกว่าประทับใจกับหูฟังสัญขาติญี่ปุ่นมากจริง ๆ
จุดสังเกต
  • เสียงเก็บได้ทุกรายละเอียด
  • หูฟังมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะพกพาไปฟังนอกบ้าน
หากยังไม่หนำใจหรือยังไม่เห็นภาพละก็ทางเรามีวิดีโอรีวิวมาให้ชมกันครับ




รีวิว – หูฟัง Audio Technica : ATH-SR5BT

รีวิว – หูฟัง Audio Technica : ATH-SR5BT


              
           ชื่อของ Audio Technica บอกตามตรงว่ายังไม่เคยผิดหวังจากที่ได้ยินเสียงจากหูฟังยี่ห้อนี้ ครั้งนี้เราได้รับ ATH-SR5BT เป็นหูฟัง Bluetooth มาดูกันว่าหูฟังรุ่นนี้จะยังคงทำให้เราประทับใจอยู่หรือไม่    Audio Technica : ATH-SR5BT เป็นหูฟังแบบครอบหัวขนาดเล็ก ถ้าดูจากภายนอกคือไม่โดดเด่นเด้งอะไรด้วยสีของหูฟังที่เป็นสีดำไม่ได้มาแนวสีสันคัลเลอร์ฟูลแบบที่หลายยี่ห้อทำออกมา จุดนี้คือข้อที่หลายคนชอบ Audio Technica เพราะยังคงทำหูฟังที่สีดูสุภาพไม่ฉูดฉาดไม่เตะตา บริเวณหูฟังมีขนาดไม่ใหญ่นัก ตัวนวมหูฟังถือว่าทำมาหนาพอควร ซึ่งจุดนี้มีผลมากกับตอนที่เราใช้ฟังเพลง การออกแบบบริเวณหูฟังถ้าสังเกตดี ๆ พบว่าหูฟังจะทำให้เอียงมาด้านหน้าเล็กน้อย บริเวณใต้หูฟังทั้งสองข้างจะมีปุ่มปรับและช่องเสียบต่างมาพร้อมสรรพ สำหรับการเชื่อมต่อหูฟัง Audio Technica : ATH-SR5BT รองรับการเชื่อมต่อผ่าน NFC และ Bluetooth




        แนวเสียงของ Audio Technica : ATH-SR5BT ยังคงมาแนวใส ๆ ที่ให้รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ดี ผมใช้หูฟังตัวนี้ทั้งฟังเพลงและดูหนัง สิ่งแรกที่รับรู้ได้คือรายละเอียดเสียงมาให้เราได้ค่อนข้างดี ส่วนตัวชอบที่เสียงสูงไม่แหลมบาดหูมากนัก ซาวด์สเตจของหูฟังตัวนี้ฟังช่วงแรกก็ว่าแคบนะไม่ได้กว้างอะไรนัก แต่ฟังไปฟังมา เอ๊ะ…ทำไมบางเพลงเสียงดูจะอยู่ไกลออกไปอีกหน่อย เรื่องนี้ก็เลยต้องมาฟังซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบเพื่อดูว่าหูเราไม่ได้ฟาดหรือคิดไปเองก็ได้ข้อสรุปว่าซาวด์สเตจมีมิติความกว้างอยู่ประมาณหนึ่ง คือสามารถทำให้เรารู้สึกได้ว่าเสียงมาจากที่ไกล ๆ นะ แต่ไม่ได้ไกลมาก


       สำหรับเสียงที่บางคนอยากให้แน่น ๆ อย่างเสียงต่ำเสียงเบส สำหรับ Audio Technica : ATH-SR5BT ต้องบอกว่ามีเสียงต่ำมาให้ได้ยินอยู่ในระดับกลาง ๆ ไม่ได้แน่นทะลวงหูอะไรนัก จากที่เคยได้ฟังเสียงของ Audio Technica จะบอกว่าเป็นแนวทางของยี่ห้อนี้ก็ได้ โดยรวมสำหรับเสียงต่ำเสียงเบสให้ความรู้สึกว่าเป็นเสียงต่ำแบบติ๋ม ๆ หน่อยไม่บุ่มบ่ามมากนัก โดยทั่วไปเวลาฟังเพลงถ้าเป็นเพลงที่มีเสียงต่ำแน่น ๆ หูฟังตัวนี้ตอบสนองได้รู้สึกได้ แต่จะไม่สะใจเท่าไหร่


ข้อสังเกตอย่างหนึ่งหลังจากที่ได้ใช้หูฟัง Audio Technica : ATH-SR5BT และเป็นจุดที่คิดว่าแปลก ๆ ที่สุดด้วยคือการปรับระดับเสียงครับ ซึ่งปกติแล้วเวลาใช้หูฟัง Bluetooth เสียงที่ปรับจากหูฟังหรือปรับจาก iPhone/iPad ก็จะเป็นอันเดียวกัน ปรับจากตรงไหนเสียงก็ลดเหมือนกัน แต่กับหูฟังตัวนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
การปรับระดับเสียงของหูฟัง Audio Technica : ATH-SR5BT จะแยกจากระดับเสียงของอุปกรณ์ของเรา เช่นว่าเราตั้งระดับเสียงที่อุปกรณ์ไว้ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่บนหูฟังเราปรับระดับเสียงไว้ให้ดังสุดเสียงที่ได้ยินก็จะมีค่าเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ของระดับเสียงของอุปกรณ์ ในจุดนี้แนะนำว่าให้ตั้งค่าระดับเสียงบนอุปกรณ์ให้มีระดับเสียงดังที่สุด แล้วค่อยมาปรับระดับเสียงที่ต้องการจากบนหูฟังอีกทีจะสะดวกกว่า
อีกประการสำหรับปุ่มปรับระดับเสียงที่เป็นปุ่ม Previus/ Forward ไปด้วยในตัว ซึ่งมีปัญหาตรงที่ถ้าคุณต้องการปรับระดับเสียงแต่ดันขยับเร็วก็จะกลายเป็นการเปลี่ยนเพลงไปซะอย่างงั้น จุดนี้บอกตามตรงว่าแรก ๆ ก็ไม่คุ้นเหมือนกันมีปรับผิดปรับถูกจะปรับเสียงก็กลายเป็นเปลี่ยนเพลงอยู่บ้างเหมือนกัน
สำหรับกรณีแบตเตอรี่หมดหูฟังก็มีช่องให้ต่อสาย 3.5 มม. ไว้ให้ด้วย โดยแบตเตอรี่ชาร์จเต็ม 1 ครั้งสามารถใช้ฟังเพลงได้นาน 5 ชั่วโมง การเสียบชาร์จทำผ่านช่อง Micro USB ที่บริเวณหูฟังด้านซ้าย
โดยรวมสำหรับหูฟัง Audio Technica : ATH-SR5BT ผมยังปลื้มกับแนวเสียงที่ได้จาก Audio Technica เหมือนกับที่เคยได้ฟังมา เพียงแต่ฟังก์ชั่นบางอย่างที่แปลกไปหน่อยของหูฟังรุ่นนี้อย่างเรื่องปรับระดับเสียงดูจะขัด ๆ ไปหน่อยตอนใช้งานอยู่บ้าง แนวเสียงที่เน้นนุ่ม ๆ นวล ๆ เสียงสุภาพ ๆ ใครกำลังหาเสียงแบบนี้ในหูฟังไร้สาย Audio Technica : ATH-SR5BT ตอบโจทย์ได้ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณต้องการเสียงที่ห้าวดิบรุนแรงหนักหน่วงคงต้องมองหาหูฟังยี่ห้ออื่นแทน แต่ยังไงก็ตามอยากให้หาลองฟังเสียงจากรุ่นนี้ก่อนเสียงเพราะพริ้งพริ้วฟังเพลินมากในราคาเท่านี้ แต่หากไม่เห็นภาพละก็ เรามีวิดีโอรีวิวมาให้ชมกันครับ


วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ใช้ "หูฟัง" ระวัง "หูหนวก"


ใช้ "หูฟัง" ระวัง "หูหนวก" 
          การสูญเสียการได้ยินไม่ใช่โรคร้ายที่คุกคามต่อชีวิต แต่สร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกผู้คนไม่น้อย และแม้จะไม่มีสถิติระบุแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่ารูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ อย่างเช่นการใช้หูฟังแบบเอียร์บัดเพื่อฟังเพลงหรือชมภาพยนตร์ผ่านอุปกรณ์โม บายเป็นเวลานานๆ เรื่อยไปจนถึงเสียงต่างๆ รอบตัวเราที่ดังมากขึ้นเรื่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินอันเกิดจากเสียง (เอ็นไอเอชแอล) ได้ในช่วงอายุน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

        ศาสตราจารย์ จิลล์ กรุนวาลด์ นักโสตสัมผัสวิทยา (ออดิโอโลจิสต์) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา บอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักว่าสภาพแวดล้อมในชีวิตยุคใหม่ดังมากเกินไปจนเป็น อันตรายต่อหูของตัวเองจนกระทั่งสายเกินไป สภาพแวดล้อมเดิมๆ ที่เราได้ยินเสียงเพียงเพื่อสันทนาการนั้นไม่มีอีกต่อไปแล้ว ทั้งการสวมหูฟังเพื่อรับฟังเสียงเป็นการส่วนตัว, การชมคอนเสิร์ต, สภาพแวดล้อมในบาร์, โรงภาพยนตร์ ล้วนดังมากและเป็นสิ่งที่เราเจอะเจอเป็นประจำในชีวิตประจำวัน

        กรุน วาลด์ชี้ว่า การได้ยินเสียงดังมากๆ เป็นระยะเวลานานยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการสูญเสียการได้ยินให้กับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด และมีเหตุผลพอที่จะบอกได้ว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันมีปัญหาเอ็นไอเอชแอลเกิดขึ้นในช่วงอายุน้อยกว่า จากสาเหตุทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ

         เอ็นไอ เอชแอลเป็นภาวะค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการได้ยินลงไปเรื่อยๆ ปกติจะเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่การได้รับฟังเสียงดังมากๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถก่อให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งจะยิ่งแย่ลงมากขึ้นเมื่ออายุสูงขึ้นในอนาคต


       สถาบันเพื่อความ ปลอดภัยในงานอาชีพแห่งชาติ (เอ็นไอโอเอสเอช) และสมาคมเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในงานอาชีพ (โอเอสเอชเอ) ของสหรัฐอเมริกา กำหนดค่ามาตรฐานของเสียงที่เราได้ยินแล้วยังปลอดภัยเอาไว้ที่ระดับ 85 เดซิเบล ซึ่งดังเท่าๆ กับเสียงการจราจรบนท้องถนนที่เราได้ยินเมื่อนั่งอยู่ภายในรถ การได้ยินเสียงที่ดังกว่าระดับดังกล่าว ก่อความเสี่ยงให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ


การใช้ หูฟังเพื่อฟังเพลงจากอุปกรณ์ต่างๆ สามารถให้เสียงได้สูงถึง 120 เดซิเบล ทั้งนี้จากการศึกษาของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นระดับเสียงที่เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะเสียงในระดับเกินกว่า 110 เดซิเบลขึ้นไป สามารถทำให้ "เยื่อไมอีลิน" ฉีกหลุดออกจากเซลล์ประสาท ซึ่งจะตัดขาดการส่งสัญญาณไฟฟ้าจากหูไปยังสมองได้ทันที ในกรณีนี้การสูญเสียการได้ยินจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและไม่สามารถฟื้นฟู ได้อีกต่อไป

        เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงดังอาจดังได้ถึง 90 เดซิเบล อย่างเช่น เลื่อยเชนซอว์ หรือเจ็ตสกี มีระดับความดังที่ 100 เดซิเบล ในคลับหรือคอนเสิร์ตอาจมีเสียงดังได้มากถึง 105 เดซิเบล การเปิดวิทยุในรถยนต์ดังมากๆ อาจทำให้ระดับเสียงสูงขึ้นถึง 120 เดซิเบล หรือการยืนอยู่ห่างจากปืนขณะที่มีการลั่นกระสุนราว 2-3 ฟุต จะได้ยินเสียงระดับ 140 เดซิเบล ที่อาจเป็นระดับเสียงเริ่มต้นที่ทำให้ปวดหูได้สำหรับบางคน

       การได้ยิน เสียงดังมากในเวลานานๆ บางครั้งอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว เช่น หลังการชมคอนเสิร์ต 2-3 วัน เกิดขึ้นจากองค์ประกอบทางเคมีในหูสร้างภาวะดังกล่าวขึ้นเพื่อป้องกันหู การได้ยินจะกลับคืนมาได้ และอาจช่วยให้เร็วขึ้นได้ด้วยการไปอยู่ในที่เงียบๆ เพื่อฟื้นฟูความละเอียดอ่อนของหูอีกครั้ง 
       คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันภาวะต่างๆ เหล่านี้ คือให้ลดระดับความดังสูงสุดของอุปกรณ์ที่ใช้กับหูฟังของเราลงจากเดิมให้ เหลือเพียง 70 เปอร์เซ็นต์, ใช้หูฟังแบบครอบหู แทนหูฟังแบบเอียร์บัด

เมื่อไปชมคอนเสิร์ตก็ควรนำอุปกรณ์อุดหูติดมือไปด้วย เป็นการป้องกันไว้ก่อนนั่นเอง

ระวังหูดับเพราะใช้หูฟัง อย่างผิดวิธี



ระวังหูดับเพราะใช้หูฟัง อย่างผิดวิธี

หนึ่งในผลพวงของ การติดโทรศัพท์มือในวัยรุ่นและคนทำงานคือการใช้โทรศัพท์มือถือฟังเพลงเป็น ประจำและเป็นนิสัยไม่ว่าจะเป็นเวลาเดินทางเวลาทำงาน และเวลาว่างๆ ที่คุณนั่งชิวอยู่ภายนอกอาจจะเพราะความสะดวกหรือเป็นการแก้เบื่อเวลาที่ต้อง นั่งหรือเดินทางนานๆ ก็ตามซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ข้อเสียแต่ประการใดยกเว้นเสียแต่ว่าคุณใช้หูฟังนั้น มากเกินพอดีหรือใช้ฟังเพลงดังเกินไปซึ่งรับรองเลยว่ามีผลเสียตามมาอย่างแน่ นอน

ปกติแล้วหูของเรานั้นหากได้ยินเสียงที่ดังเกินกว่า 110 เดซิเบล ก็จะมีผลต่อเซลล์ประสาทหูทันทียิ่งถ้าเป็นการฟังระยะประชิดแบบใส่หูฟังแล้ว ด้วยนั้นยิ่งส่งผลร้ายแรงยิ่งกว่าลองนึกภาพการทดลองที่เปิดลำโพงเสียงดังๆ ใส่กระจกหรือแก้วที่อยู่บริเวณนั้นยังส่งผลให้กระจกหรือแก้วแตกได้ซึ่งคงไม่ ต่างจากแก้วหูของคุณที่บางกว่ากระดาษด้วยซ้ำ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่หากคุณฟังเพลงจากหูฟังแบบดังมากๆบ่อยๆ จะเกิดอาหารหูดับจากเยื่อแก้วหูขาดได้ ดังนั้นคุณควรลองปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้หูฟังตามคำแนะนำต่อจากนี้ เพื่อความปลอดภัยน่าจะดีกว่า

- เปิดระดับเสียงให้ดังไม่เกิน50%ของระดับเสียงสูงสุด
- ฟังเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องการหรือฟังเป็นบางช่วงเวลาปล่อยให้หูได้พักบ้าง จะได้ลดอัตราเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหู
- พยายามอย่าใช้หูฟังร่วมกับคนอื่นเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคบางชนิดเช่น โรคผิวหนัง
- เปลี่ยนฟองน้ำที่ใช้รองหูฟังเป็นประจำเพื่อลดการสุสมของฝุ่นและเชื้อโรค เพราะหูฟังนั้นอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆดัง เช่นหนองในหูหรือการอักเสบในช่องหูได้อีกด้วย
- แยกเก็บหูฟังไว้ในกระเป๋าผู้ชายใบเล็กๆ สักใบหรืออาจจะเป็นกระเป๋าแฟชั่นสำหรับสาวๆเพื่อจะได้ไม่ปะปนกับข้าวของ เครื่องใช้ชิ้นอื่นๆที่อาจจะไม่สะอาดเพียงพอต่อหูของคุณ

นอก จากนี้ ถ้าคุณเป็นคนที่ตั้งครรภ์อยู่ด้วยแล้วนั้นควรฟังเสียงที่เบาและผ่อนคลาย และไม่ควรฟังนานเกิน 30 นาทีเพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง

คุณภาพของหูฟังก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้าหากคุณอยากใช้หูฟังเพื่อลดความ ง่วงเหงาและเพิ่มความสนุกขณะเดินทางคนเดียวแล้วนั้นให้ลองดูจากคุณภาพของหู ฟังเพื่อเป็นตัวช่วยก็ได้เพราะถ้าหูฟังที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่มีมาตรฐานก็จะ มีผลทำให้เราต้องเปิดเสียงให้ดังขึ้นเพื่อให้ได้ยินชัดขึ้นตามไปด้วยแต่หาก เราเลือกใช้หูฟังที่สามารถตัดเสียงรอบข้างพร้อมให้เสียงที่เพราะและนุ่มหูก็ จะทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปิดเสียงดังเพื่อแข่งกับเสียงรบกวนสามารถควบคุม เสียงให้อยู่ในความดังที่พอเหมาะได้

ทั้งนี้การใช้หูฟังโดยที่ไม่เหมาะกับสถานที่ เช่น เดินอยู่ริมถนน ทางรถไฟหรือในบริเวณที่มีการสัญจร อาจทำให้คุณเกินอันตรายโดยไม่รู้ตัวเพราะในขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินอยู่กับ เพลงโปรดคุณอาจลืมสังเกตเสียงแตรรถที่กำลังบีบเตือนคุณอยู่จนทำให้เกิด อุบัติเหตุอย่างคาดไม่ถึงหรือแม้แต่เรื่องเล็กๆอย่างการฟังเพลงขณะทำงานจน ไม่ได้ยินเสียงเรียกของเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานอาจก่อให้เกิดปัญหารำคาญใจ ขึ้นได้ฉะนั้นฟังเพลงให้ถูกที่ถูกเวลา และถูกวิธีนอกจากจะป้องกันอาการหูดับได้แล้ว ยังป้องกันปัญหาอีกหลายๆ อย่างได้อีกด้วย



ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.istockphoto.com/